กฎพื้นฐานของการทำอนิเมชั่น




กฎที่ 1 ลูกบอลกระดอน Bouncing Ball

                เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับกฎของพื้นฐานการกระดอน, กระเด้ง,กระโดด,สปริง ฯลฯ  โดยต้องเข้าใจคุณสมบัติของวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตที่มีแรงจูงใจในการผลักดันออกไป  และความต้องการที่จะให้เกิดผลนั้นๆดังตัวอย่างดังนี้
               กฎของการกระดอนในเรื่อง Show in,out นั้นจะสังเกตว่าจะมีแรงโน้มถ่วงที่ไวก่อนถึงพื้นและให้รู้สึกว่าได้สัมผัสกับ
พื้นที่แนบติด  โดยให้วัตถุหรือสิ่งนั้นมีการกดลงกับพื้นและขยายตัวออกโดยที่ปริมาตรยังคงเดิม  และเวลาพุ่งออกไป จะลอยออกจากพื้นทันทีโดยที่ปริมาตรเป็นทรงที่ยื่นออกไป  กฎนี้จะประยุกต์ใช้กับการกระโดดของคน  สัตว์  สิ่งของ
                   พื้นฐานของบทเรียนสำหรับ Animationหลังจากที่เรา เข้าใจหลักการของธรรมชาติของการเคลื่อนไหวในการทำ
           Animation จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องเรียนรู้หลักการ ที่เป็นพื้นฐานเพราะการทำ  Animation  ส่วนใหญ่มักเจอ โจทย์ที่                เป็นพื้นฐานทั้งนั้น  จึงต้องบังคับให้รู้ถึงถึงผู้ที่จะ ทำงาน  Animation  และถ้าเป็น หลักสูตรการเรียนการสอนของ
ต่างประเทศ ที่เป็นเรื่องราวจะมีพื้นฐานทั้งหมดโดยแยกออกเป็น กฎอยู่ 8 กฎ  ดังต่อไปนี้
  


กฎที่ 2  หลักการสะบัด  The Wave

          
การสะบัด  เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับกฎของการสะบัด  ที่จะมีความซับซ้อนมากขึ้นของเรื่อง   Show in,out  เพราะจะมีเรื่อง Delay มาเกี่ยวข้องDelay คือ การชะลอการเหวี่ยงที่มีแรงผลัก  แรงโน้มถ่วง  แรงต้าน  แม้แต่อารมณ์ใน การแสดงซึ่งจะ ทำให้วัตถุหรือร่างกายนั้น  มีการล่าช้าหลังหรือก่อนกันนั่นเอง

            กฎของ  Wave  นั้น  จะประยุกต์ใช้กับการสะบัดทั้งหมด  ตั้งแต่แส่ต้นหญ้าไหวไปมา ผ้าสะบัด , ผมต้องลม,ปีกนกแม้แต่ การเหวี่ยงแขน  และอีกมากมายที่ต้องมีการเคลื่อนไหวไปกลับอย่างรวดเร็ว  การสะบัด  จะมีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆที่ควรศึกษา  และนำไปปรับใช้กับการแสดงต่างๆมากมาย  เช่น การโปกปีกของสัตว์ หางสัตว์ต่าง, การสะบัดแส่และการโบกไปกลับทุกอย่าง
เป็นต้น

กฎที่ 3  วิธีการเดินและวิ่ง  Walk & Runเดิน (Walk)

       แน่นอนที่สุด  ถ้าเราทำหนังสักเรื่องตัวละครเราต้องมีบทเดิน  จึงจำเป็นอย่างมากที่เราตองศึกษาวิธีการเดินของคน  ซึ่งมีแต่ลักษณะต่างกันไปตาม คุณสมบัติเช่น  คนหนุ่ม  คนแก่ และเด็กเป็นต้น  ซึ่งจังหวะและเวลาการเดินจะไม่เท่ากัน  ในที่นี้จะเป็นแนวทางและหลักง่ายๆเพื่อให้เข้าใจก่อน
ในจังหวะย่างก้าวโดยปกติ คนปกติที่แรงทั่วไป  การก้าว 1 ก้าว  จะอยู่ที่ 12-13 รูป  ถ้า 2 ก้าว ก็ 24-26 รูป ในระบบ 25 F/1 sec เพราะฉะนั้นการเดินไป 1 ก้าว  ก็ใช้เวลา  1/2 วินาทีและ 2 ก้าวก็ประมาณ 1 วินาที
 การวิ่ง (Run) ลักษณะการวิ่งจะมีภาพน้อยกว่าการเดินเพราะจะต้องใช้ความไวในการก้าวจึงมีเพียง 7 รูปเท่านั้น ต่อ 1 ก้าวและ

ให้ใช้เป็น on 1



กฎที่ 4  การยกของที่มีน้ำหนักและสิ่งที่เป็นของหนัก Weight
การยกของหนัก (Weight) 

       การยกสิ่งที่ให้รู้สึกว่าหนักนั้น  ก่อนยกขึ้นให้ร่างกายพร้อมศีรษะยกขึ้นไปก่อนที่จะยกตัวและลุกขึ้น  

และก่อนยกช่วงขาจะชิดใกล้วัตถุ  จึงมีกำลังยกขึ้น

     การยกของหนักจะต้องเดินไปด้วยลักษณะการก้าวเดินเป็น Slow in Fast คือขาต้องรีบก้าว
เพื่อไม่ให้การแบกน้ำหนักต้องถ่วง อีกข้างหนึ่งช้าเกินไปนั่นเอง



      การลาก  หรือดึงของที่มีน้ำหนักก็จะคล้ายกัน  ของหนักจะไปทีละนิดเพราะเราต้องส่งพลังทั้งหมด

ดึงเข้าหาตัวเองอย่างว่องไว


กฎที่ 5  หลักการสะดุ้ง The  Take

    The  Take 
ตัวอย่าง Take  ที่มีทั้ง on 2 และ   on 1 ซึ่งสามารถปรับตามจังหวะของการสะดุ้งแล้วแต่

เหตุการณในการแสดงนั้นๆ แต่หลักของ  Take  ที่เป็น key ใหญ่ๆมีอยู่ 4  key คือ มองเห็น หลับตากลัว  ตกใจ  
หรือ สะดุ้ง  ผ่านพ้นไปลักษณะของการสะดุ้งนั้นถ้าจะให้มีความน่าสนใจกว่าปกติควรให้อิริยาบถแตกต่างในช่วงจังหวะสะดุ้งขึ้น  
และตอนสะดุ้ง ลงจะสร้างความรู้สึกและอารมณ์ได้มาก  และสนุกตลกไม่ซ้ำซากหรือจำเจ


กฎที่ 6   การสนทนา  Dialouge
                                                                                        
       การขยับปากจะมีท่าหลักๆอยู่ไม่กี่ท่า  ในแต่ละท่าของปากบางคำจะเหมือนกันและนำรูปของปากมาใช้ซ้ำกันได้ 
ทั้งนี้ต้องดูว่ามุมมองอยู่ตรงตำแหน่งเดียวกันหรือไม่เท่านั้น
       ในภาษาอังกฤษจะง่ายต่อการขยับปากเทียบกับภาษาอื่นแล้วที่การขยับปากจะยากมาก  เช่น  ภาษาจีน  ภาษาอินเดีย 
หรือภาษาที่ต้องผันลิ้นมากๆเป็นต้น  ในภาษาไทยเราก็ไม่ยากเท่าไหร่



     
กฎที่ 7  สัตว์ 4 เท้าเป็นอย่างไร  และเดินกันแบบไหน 
     ก่อนที่เราจะวาดภาพการเคลื่อนไหวของสัตว์  เราควรต้องรู้โครงสร้างของสัตว์ที่เราจะวาดเสียก่อน  ในที่นี้จะกล่าวถึงสัตว์ 4 เท้า  ที่เห็นความชัดเจนที่สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. แบบมีกีบ   เช่น ม้า, กวาง ฯลฯ
2. แบบอุ้งเท้าที่มีเล็บ เช่น แมว, เสือ  ฯลฯ
     การศึกษาการวาดภาพสัตว์ที่ดี  นอกจากดูภาพแล้วควรหาโอกาสไปดูของจริงตัวเป็นๆที่สวนสัตว์  จะรู้ถึงความรู้สึกในการวาดสัตว์นั้นๆ


กฎที่ 8 การทำเทคนิคพิเศษ Effect

    การทำเทคนิคพิเศษ  ปัจจุบันการทำเทคนิคพิเศษได้พัฒนาเป็นงาน 3D Animation ที่สมจริงและง่ายต่อการทำ  จึงนิยมเอางาน ดังกล่าวมาประมวลผลออกมาเป็น  2D ได้เลย  ทำไห้ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาอย่างมาก  แต่เราก็ต้องควรรู้และศึกษาการทำเทคนิคนี้  เพราะเป็นงานที่บอกถึงอารมณ์ล้วนๆวาดจากความรู้สึกที่อยากให้มันเป็น  มันเคลื่อนไหว  เหมือนงานจิตกรที่เล่าเรื่องได้ออกมาอย่างวิเศษ
การทำ  3D อาจเหมือนจริงแต่ไม่มีความเป็นงานศิลปะเหมือนงานวาดด้วยมือ







ขอบคุณข้อมูล

        http://www.kanlayanee.ac.th/animation/web/basic.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีแอนิเมชั่น

การสร้างแอนิเมชั่นแบบทวีน

สอนการทำแอนิเมชั่น พื้นฐาน