ทฤษฏีAnimation

ความเป็นมา แนวคิด หลักการ และทฤษฎีแอนิเมชั่น
ความเป็นมา แนวคิด หลักการ และทฤษฎีแอนิเมชั่น

คำว่า แอนิเมชั่น (Animation) มาจากรากศัพท์ละติน “animare” ความหมายว่า การทำให้มีชีวิต ด้วยการทำภาพนิ่งมาเรียงลำดับ และแสดงผลอย่างต่อเนื่องด้วยความเร็วสูงจนเกิดเป็นภาพที่มีการเคลื่อนไหวอย่างมีชีวิตชีวา ซึ่งการนำภาพหลายภาพนิ่งหลายๆ ภาพมาฉายต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูงนั้น ทำให้เกิดภาพลักษณะติดตา
ปัจจุบันเรามักจะมีการนำคอมพิวเตอร์มาสร้างภาพเคลื่อนไหว ด้วยการสร้างภาพนิ่งขึ้นก่อน แล้วค่อยสร้างภาพต่อเนื่องภาพถัดไปเรียงลำดับไปเรื่อยๆ เปลี่ยนแปลงภาพไปทีละน้อย แล้วนำมาเข้าสู่คอมพิวเตอร์ใช้โปรแกรมสร้างแอนิเมชั่น ในการลำดับภาพให้เหมาะสมกับเวลา และแสดงภาพต่อเนื่อง จนเห็นเป็นการเคลื่อนไหวที่สมจริง
รูปภาพ19        รูปภาพ20

สรุปความหมายแอนิเมชั่น
แอนิเมชั่นเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดจากมือมนุษย์
แอนิเมชั่นมอบลมหายใจให้กับสิ่งต่างๆ ที่ไม่เคยมีชีวิตมาก่อน
แอนิเมชั่นเป็นงานศิลปะ ที่เกิดขึ้นด้วยหลักการวิทยาศาสตร์ 
  1. รูปภาพ22
แอนิเมชั่นเป็นธุรกิจบันเทิงที่สร้างความสุขให้แก่คนทั้งโลก
แอนิเมชั่นสามารถเนรมิตโลกฝันให้เป็นจริงได้
รูปภาพ21
ประวัติความเป็นมา
หลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณ ได้มีการค้นพบภาพเขียนบนผนังถ้ำเป็นรูปสัตว์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีการเคลื่อนไหวของขาทั้ง 4 ข้าง
รูปภาพ23
ยุคของฟาโรห์รามาเศสที่ 2 ได้มีการการวาดรูปการเคลื่อนไหวของเทพีไอซิสต่อเนื่องกันถึง 110 รูปยุคกรีก
รูปภาพ24
โรมัน เมื่อดูจากภาพที่ปรากฏบนคนโทแล้ว จะเห็นว่าเป็นภาพต่อเนื่องของการวิ่ง
รูปภาพ25
ในประเทศแถบยุโรปในปี 1908 อนิเมชั่น ถือกำเนิดขึ้นในโลก จากเรื่อง Fantasmagorie ของ Emile Courtet ชาวฝรั่งเศส
รูปภาพ26
ในขณะเดียวกันที่สหรัฐฯ ก็มีการเริ่มต้นพัฒนาด้านแอนิเมชั่นซึ่งหนังในช่วงแรกๆก็มี Koko the Clown และ Felix the Cat
รูปภาพ27
ในปี 1923 วอล์ท ดิสนี่ย์ ก็ถือกำเนิดขึ้นด้วย
รูปภาพ28

การสร้างภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่นในประเทศไทย
อาจารย์สรรพสิริ วิริยสิริ เป็นผู้สร้างแอนิเมชั่นคนแรกของไทยในโฆษณาโทรทัศน์ เช่น เรื่องหนูหล่อในโฆษณายาหม่องบริบูรณ์ปาล์ม หมีน้อยในโฆษณานมตราหมี และแม่มดกับสโนว์ไวท์ในโฆษณาโทรทัศน์แป้งน้ำควินน่า
รูปภาพ29 รูปภาพ30 รูปภาพ31รูปภาพ32
 ในปี พ.ศ. 2498อาจารย์ปยุต เงากระจ่างได้สร้างภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่องแรก ชื่อ เหตุมหัศจรรย์ เป็นภาพยนตร์การ์ตูน ขนาดสั้น ความยาว 12 นาที ที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย
 ต่อมา ปยุต เงากระจ่าง ได้สร้างภาพยนตร์การ์ตูน 20 นาที อีก 2 เรื่อง ได้แก่หนุมานเผชิญภัย และ เด็กกับหมี
 และภาพยนตร์การ์ตูนขนาดยาว เรื่องแรกของประเทศไทย เรื่อง “สุดสาคร”ภาพยนตร์การ์ตูน ขนาดยาวเรื่องแรกฉาย ในเดือน เมษายนพ.ศ. 2522
 ในปี พ.ศ.2526 มีแอนิเมชั่นทางทีวีเรื่องแรกเรื่อง ผีเสือแสนรัก และอีกหลายเรื่องตามมา ได้แก่เด็กชายคำแพง หนูน้อยเนรมิต เทพธิดาตะวัน จ่ากับโจ้
รูปภาพ33 รูปภาพ34
ในปี พ.ศ. 2542 แอนิเมชั่นในประเทศไทยได้กลับมาฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง ได้มีการสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่อง
  1. รูปภาพ35

  2. ปลาบู่ทอง สังข์ทอง เงาะป่า และโลกนิทาน

  1. ปี พ.ศ. 2545 ได้มีการสร้างแอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่อง ปังปอนด์ ดิ อนิเมชั่น และ สุดสาคร


  1. และในปี พ.ศ. พ.ศ. 2549 ภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่น เรื่องก้านกล้วย ได้สร้างขึ้น



  1. ประเภทของแอนิเมชั่น


  1. สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ


  1. การสร้างงานแอนิเมชั่นแบบดั้งเดิม (Traditional Animation หรือ Drawn Animation)


  1. การสร้างแอนิเมชั่นแบบสต๊อปโมชั่น (Stop Motion หรือเรียกว่า Model Animation)


  1. 3. การสร้างแอนิเมชั่นด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Animation


  1. การสร้างงานแอนิเมชั่นแบบดั้งเดิม


  1. เป็นกระบวนการที่ใช้สำหรับการสร้างภาพเคลื่อนไหวภาพยนตร์มากที่สุด


  1. เป็นการสร้างชิ้นงานแอนิเมชั่นด้วยภาพวาดซึ่งจะมีการวาดภาพลงบนกระดาษก่อน


  1. เพื่อสร้างภาพลวงตาของการเคลื่อนไหว แต่ละรูปวาดจะแตกต่างกันเล็กน้อย หลายพันภาพ


  1. และฉายภาพเหล่านั้นผ่านกล้องบันทึกภาพ หรือกล้องวิดีโอ


  1. รูปภาพ37       รูปภาพ38


  1. การสร้างแอนิเมชั่นแบบสต๊อปโมชั่น


  1. เป็นการสร้างหุ่นจำลองขึ้นมาหรือใช้สิ่งของแล้วค่อยๆ ขยับ พร้อมกับถ่ายภาพนั้นทีละภาพ


  1. ที่พบมากได้แก่ ภาพเคลื่อนไหวแบบหุ่นเชิด ภาพเคลื่อนไหวดินน้ำมัน


  1. แอนิเมชั่นแบบนี้ต้องอาศัยเวลา ความอดทนและความสามารถมากต้องใช้ทักษะทางศิลปะการปั้น และการถ่ายภาพ


  1. ทั้งนี้เพราะหุ่นจำลอง หรือสิ่งของประกอบฉากนั้น หลายๆสิ่งมีการขยับหรือเคลื่อนไหวไปพร้อมๆ กัน ในหนึ่งภาพ


  1. รูปภาพ39   รูปภาพ40


  1. การสร้างแอนิเมชั่นด้วยคอมพิวเตอร์

เป็นกระบวนการสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ด้วยความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจึงมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้การทำแอนิเมชั่นง่ายขึ้น
ทำให้ประหยัดเวลา และต้นทุนเป็นอย่างมาก
โปรแกรมที่นิยมใช้ในการผลิตงานแอนิเมชั่นเช่น โปรแกรม Maya, Abode Flash, Lightwave, modo, Anime Studio และ 3D Studio Max เป็นต้น
รูปภาพ41 รูปภาพ42

ประเภทของภาพเคลื่อนไหว
1. ภาพเคลื่อนไหวแบบ มิติ (2D Animation ) สามารถมองเห็นได้ทั้งความสูงและความกว้าง
รูปภาพ43 รูปภาพ44
2. ภาพเคลื่อนไหวแบบ มิติ (3D Animation)สามารถมองเห็นได้ทั้งความสูง ความกว้าง และความลึก
รูปภาพ45 รูปภาพ46

แหล่งที่มา : http://www.phanphit.ac.th/ict/spc/Animation/animation.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทฤษฎีแอนิเมชั่น

การสร้างแอนิเมชั่นแบบทวีน

สอนการทำแอนิเมชั่น พื้นฐาน